โรคของกล้วยไม้
โรคเน่าเละ
เชื้อสาเหตุ เกิดจากแบคทีเรีย

อาการ พบอาการได้ทุกส่วนของกล้วยไม้ เช่น โคนต้น ลำลูกกล้วย ใบ ยอดอ่อน โดยเริ่มแรกจะเป็นจุดฉ่ำน้ำเล็กๆก่อน แล้วจะลุกลามเป็นแผลช้ำขนาดใหญ่สีน้ำตาล และยุบตัวลง เมื่อดมส่วนที่เป็นโรคจะพบว่ามีกลิ่นเหม็นเฉพาะตัว จะระบาดรุนแรงมากในสภาพอากาศร้อนและความชี้นสูง เชื้อจะระบาดไปกับน้ำโดยเข้าทำลายพืชทางช่องเปิดธรรมชาติและบาดแผล
โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
เชื้อสาเหตุ เกิดจากไวรัส
อาการ มีหลายลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิดของเชื้อไวรัสและชนิดของกล้วยไม้ บางทีเชื้อก็แฝงอยู่ในกล้วยไม้โดยไม่แสดงอาการออกมาให้เห็นก็ได้ อาการที่พบเห็นบ่อยๆได้แก่ 1. ใบด่าง ตามแนวยาวของใบโดยมีสีเขียวอ่อนสลับสีเขียวเข้ม 2. ยอดบิด ช่วงข้อจะถี่สั้น การเจริญเติบโตน้อยลง แคระแกน 3. ช่อดอกสั้น กลีบดอกบิด มีเนื้อหนาแข็งกระด้าง ซึ่งบางครั้งจะมีสีซีดที่โคนกลีบดอก หรือมีลักษณะดอกด่าง และดอกมีขนาดเล็กลง
ใบจุดดำ (Black spot)
เชื้อสาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
อาการ มีหลายลักษณะให้เห็นบนหน้าใบ - ด้านหน้าใบเป็นแผลสีน้ำตาลดำขนาดเล็ก รูปร่างไม่แน่นอน กระจายอยู่ทั่วไป - ด้านหน้าใบเป็นจุดสีขาวหรือเหลืองอ่อน ตรงกลางเป็นจุดสีดำ อาการจะเห็นชัดบนใบแก่ - ด้านหน้าใบและหลังใบเป็นจุดบุ๋มสีดำ พบเห็นทั้งใบอ่อนและใบแก่ เกิดได้ทั้งปี สปอร์แพร่ระบาดโดยน้ำและลม